ยโสธร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย จัดตั้งโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป โดยมีนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก จดทะเบียนบริษัทยโสธร
- คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
- ตราประจำจังหวัด : รูปพระธาตุอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบานเป็นการแสดงถึงการที่จังหวัดยโสธรแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นกระบาก (Anisoptera costata)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวแดง (Nymphaea rubra)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาชะโอนหรือปลาเซียม (Ompok bimaculatus)
ChonlateeFBC
บริการขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(Foreign Business Certificate: FBC)
ส่งเสริมการลงทุนจะต้องขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
การขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของ
คนต่างด้าว (มาตรา 12) (FBC)
ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากการนิคมอุตสาหกรรม
• กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงขอบข่ายธุรกิจที่ระบุในเงื่อนไขเฉพาะโครงการ หรือได้รับอนุญาตจากการนิคมฯ เป็นธุรกิจตามบัญชีสองหรือบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
• หากได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตซึ่งมิได้เป็นธุรกิจที่เข้าข่ายตามบัญชีท้าย พรบ.ฯ แต่โดยข้อเท็จจริงมีการรับจ้างผลิตซึ่งเป็นการประกอบ
ธุรกิจตามบัญชีสาม (21) การทำธุรกิจบริการ นิติบุคคลนั้นที่มีสถานะเป็นคนต่างด้าวสามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามมาตรา12 นี้ได้เช่นกัน
-
การขอรับหนังสือรับรอง การประกอบธุรกิจ
คนต่างด้าวบางประเภทมีสิทธิขอหนังสือ
รับรองเพื่อประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ซึ่งอธิบดีจะออกหนังสือรับรองให้ภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่แจ้ง คือ
– คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศ
ไทยกับคู่ภาคี (มาตรา 11) สามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีหนึ่ง
บัญชีสอง และบัญชีสาม ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลง
การค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี ได้แก่
๏ สนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทย
กับสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511
๏ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
๏ ความตกลงหุ่นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ( JTEPA)
– คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน สามารถขอหนังสือ
รับรองการประกอบธุรกิจบัญชีสอง และบัญชีสามได้ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม
การลงทุน (มาตรา 12)chonlateefbc.com
สอบถามรายละเอียด
ประวัติศาสตร์
จังหวัดยโสธรเดิมเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านสิงห์ท่า ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกฐานะเป็นเมืองยโสธร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ถึง พ.ศ. 2443 รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานีจนถึง พ.ศ. 2450 เมื่อยุบบริเวณอุบลราชธานี จัดตั้งเป็นจังหวัดอุบลราชธานี จึงเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี กระทั่งมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว
จังหวัดยโสธรอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 128 เมตร ตั้งศาลากลางจังหวัดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ณ ละติจูด 15° 47´.6 เหนือ ลองจิจูด 104° 08´.7 ตะวันออก ประกอบด้วยอำเภอ 9 อำเภอ, ตำบล 78 ตำบล และหมู่บ้าน 835 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,162 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี, ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีภูเขาขนาดเล็กเป็นบางบริเวณในตอนเหนือของจังหวัด ด้านตะวันตกของจังหวัดมีลำน้ำยังไหลผ่านจากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่แม่น้ำชี
ในด้านเศรษฐกิจ ในพื้นที่จังหวัดยโสธรมีการทำนา ปลูกปอแก้ว มันสำปะหลัง และถั่วลิสง มีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ พระธาตุยโสธร พระธาตุก่องข้าวน้อย สวนสาธารณะพญาแถน หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน ซากเมืองโบราณบ้านสงเปือย ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย พระธาตุกู่จาน ภูถ้ำพระ เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน รอยพระพุทธบาทจำลอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 78 ตำบล 835 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองยโสธร
อำเภอทรายมูล
อำเภอกุดชุม
อำเภอคำเขื่อนแก้ว
อำเภอป่าติ้ว
อำเภอมหาชนะชัย
อำเภอค้อวัง
อำเภอเลิงนกทา
อำเภอไทยเจริญ