เชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย จดทะเบียนบริษัทเชียงราย เป็นที่ตั้งของเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงของ เมืองเธริงหรือเมืองเทิง[3] เชียงรายเดิมก่อน "ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" สมัยพระเจ้ากาวิละ ชนชาติที่เป็นต้นกำเนิดของคนเชียงรายดั้งเดิม (อาจรวมถึงคนในภาคเหนือทั้งหมด) ก่อนมีแคว้นโยนกซึ่งเป็นรัฐของชาวไทยวน หรือที่เรียกว่าคนเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดหรือผู้พูดตระกูลภาษาไท-กะได ก็คือชนชาติจีนแถบมณฑลยูนนานที่อพยพลงมาตั้งรกรากนั่นเอง ได้แตกเป็นกลุ่มหลายกลุ่มชนเผ่า จึงไม่แปลกที่คนเมืองจะมีพื้นฐานรากเหง้าเป็นคนจีนยูนนาน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศพม่า หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้[4] ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3
เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน
- ตราประจำจังหวัด : รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะพญามังรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พญามังรายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย โดยว่ากันว่า ช้างทรงของพญามังรายหลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้ พญามังรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพวงแสด (Pyrostegia venusta)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: กาซะลองคำ (Radermachera ignea) โดยเป็นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานให้เป็นไม้ประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ChonlateeFBC
บริการขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(Foreign Business Certificate: FBC)
ส่งเสริมการลงทุนจะต้องขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
การขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของ
คนต่างด้าว (มาตรา 12) (FBC)
ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากการนิคมอุตสาหกรรม
• กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงขอบข่ายธุรกิจที่ระบุในเงื่อนไขเฉพาะโครงการ หรือได้รับอนุญาตจากการนิคมฯ เป็นธุรกิจตามบัญชีสองหรือบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
• หากได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตซึ่งมิได้เป็นธุรกิจที่เข้าข่ายตามบัญชีท้าย พรบ.ฯ แต่โดยข้อเท็จจริงมีการรับจ้างผลิตซึ่งเป็นการประกอบ
ธุรกิจตามบัญชีสาม (21) การทำธุรกิจบริการ นิติบุคคลนั้นที่มีสถานะเป็นคนต่างด้าวสามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามมาตรา12 นี้ได้เช่นกัน
-
การขอรับหนังสือรับรอง การประกอบธุรกิจ
คนต่างด้าวบางประเภทมีสิทธิขอหนังสือ
รับรองเพื่อประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ซึ่งอธิบดีจะออกหนังสือรับรองให้ภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่แจ้ง คือ
– คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศ
ไทยกับคู่ภาคี (มาตรา 11) สามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีหนึ่ง
บัญชีสอง และบัญชีสาม ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลง
การค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี ได้แก่
๏ สนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทย
กับสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511
๏ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
๏ ความตกลงหุ่นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ( JTEPA)
– คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน สามารถขอหนังสือ
รับรองการประกอบธุรกิจบัญชีสอง และบัญชีสามได้ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม
การลงทุน (มาตรา 12)chonlateefbc.com
สอบถามรายละเอียด
ประวัติศาสตร์
สมัยราชวงศ์มังราย
พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำกก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย
การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด
ตั้งแต่มีการตั้งจังหวัดเชียงราย อาณาเขตของจังหวัดเชียงรายมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ โดยมีการโอนพื้นที่บางส่วน ไปขึ้นกับจังหวัดข้างเคียง และโอนพื้นที่จังหวัดข้างเคียง เข้ามารวมกับจังหวัดเชียงราย รวมถึงการแบ่งพื้นที่บางส่วน ตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ดังนี้
การโอนอำเภอเมืองฝาง ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอเมืองฝาง จังหวัดเชียงรายไปขึ้นจังหวัดเชียงใหม่[8] ในปี พ.ศ. 2468 เนื่องจากความลำบากในการเดินทางติดต่อราชการ ปัจจุบันคือ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
การโอนหมู่ 7 ตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสน ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช 2479 ได้มีการโอนพื้นที่เหนือลำน้ำแม่งามในเขตตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสนในขณะนั้น (อำเภอแม่จันในปัจจุบัน)ไปขึ้นตำบลแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่[9]
การโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ พ.ศ. 2495 ได้มีการโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน ยกเว้น ตำบลสวด (อำเภอบ้านหลวง ในปัจจุบัน) มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย (สีเขียว) และโอนตำบลสะเอียบ (สีส้ม) อำเภอปง ไปขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่[10]
การโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 137 ซึ่งมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติซึ่งออกตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 กำหนดให้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน โดยโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน [11]
การแบ่งพื้นที่บางส่วนตั้งเป็นจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้แบ่งแยกพื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัดจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา
การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นระดับอำเภอ จำนวน 18 อำเภอ ระดับตำบล จำนวน 124 ตำบล และระดับหมู่บ้าน จำนวน 1,751 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองเชียงราย
อำเภอเวียงชัย
อำเภอเชียงของ
อำเภอเทิง
อำเภอพาน
อำเภอป่าแดด
อำเภอแม่จัน
อำเภอเชียงแสน
อำเภอแม่สาย
อำเภอแม่สรวย
อำเภอเวียงป่าเป้า
อำเภอพญาเม็งราย
อำเภอเวียงแก่น
อำเภอขุนตาล
อำเภอแม่ฟ้าหลวง
อำเภอแม่ลาว
อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
อำเภอดอยหลวง