ใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(Foreign Business Certificate: FBC)

ส่งเสริมการลงทุนจะต้องขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

การขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ตามสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511

คนต่างด้าวบางประเภทมีสิทธิขอหนังสือ
รับรองเพื่อประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ซึ่งอธิบดีจะออกหนังสือรับรองให้ภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่แจ้ง คือ
– คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศ
ไทยกับคู่ภาคี (มาตรา 11) สามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีหนึ่ง
บัญชีสอง และบัญชีสาม ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลง
การค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี ได้แก่
๏ สนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทย
กับสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2511
๏ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
๏ ความตกลงหุ่นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ( JTEPA)
– คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน สามารถขอหนังสือ
รับรองการประกอบธุรกิจบัญชีสอง และบัญชีสามได้ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม
การลงทุน (มาตรา 12)

กรณีนิติบุคคลที่จัดตั้งในประเทศไทย

เงื่อนไขของผู้ถือใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) และใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ (FBC) ตามกฎหมายใหม่ระบุว่า บริษัทต่างชาติทุกแห่งที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาและข้อตกลงต้องนำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทย ภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2572



อย่างไรก็ตามบริษัทต่างชาติที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาหรือข้อตกลงทางการค้า ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต FBC และ FBL ก็ได้ เพียงแต่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

  • ✓ มีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท และจะต้องชำระเต็มจำนวนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ
  • ✓ นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทยก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2572

ส่วนบริษัทต่างชาติที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาหรือข้อตกลงทางการค้า แต่จะต้องมีใบอนุญาต FBC และ FBL ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

  • ✓ มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทหรือ 25% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยประมาณ ในระยะเวลา 3 ปี (หรือแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า จะต้องจ่ายเต็มจำนวนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ)
  • ✓ นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทยก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2572

บริษัทต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ (FBC หรือ FBL) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

บริษัทต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ (FBC หรือ FBL) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

บริษัทต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย แต่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ (FBC หรือ FBL) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

  • ✓ มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทหรือ 25% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยประมาณในระยะเวลา 3 ปี (แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ให้จ่ายเต็มจำนวนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ)
  • ✓ นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทยภายใน 3 ปีนับจากวันที่ FBC หรือ FBL อนุมัติ

เอกสารหลักฐาน

รายละเอียดเอกสาร: พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้แจ้งเพื่อขอหนังสือรับรอง หรือลงลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจบุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน

รายละเอียดเอกสาร: กรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน โดยมีรายละเอียดของผู้มอบอํานาจ ผู้รับมอบอํานาจ และกิจกรรมที่มอบให้มาดําเนินการ

รายละเอียดเอกสาร: กรณีผู้มอบอำนาจเป็นคนไทย

รายละเอียดเอกสาร: กรณีผู้มอบอำนาจไม่ใช่คนไทย

รายละเอียดเอกสาร: กรณีใช้แทนหนังสือเดินทาง

รายละเอียดเอกสาร: กรณีผู้รับมอบอำนาจเป็นคนไทย

หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

❑ ธุรกิจตามที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
❑ ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตจากการนิคมอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย
❑ ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอื่น เช่น
• พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาค
ตะวันออก พ.ศ.2561 (EEC)
❑ ธุรกิจตามที่ได้รับสิทธิตามสนธิสัญญา /
ความตกลงระหว่างประเทศ (FTA)

คอร์สอบรม
ธุรการมืออาชีพ - เลขาขั้นเทพ

ให้คุณเติบโตทางสายงานธุรการและเลขานุการ
อบรมในสิ่งที่จำเป็นในสายงาน โดยผู้มีประสบการณ์

 เพิ่มโอกาส ได้งานที่ดี
 อัพสกิล อัพเงินเดือน
 เรียนจบคอร์ส มีงานรองรับ

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

คนต่างด้าวที่ประสงค์ยื่นคำขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 พ.ศ. 2546 ผู้ขอรับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือให้ประกอบอุตสาหกรรมหรือประกอบการค้าเพื่อการส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แล้วแต่กรณี
2. กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาต รวมถึงขอบข่ายธุรกิจที่ระบุในเงื่อนไขเฉพาะโครงการเป็นธุรกิจตามบัญชีสองหรือบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
3. หากได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตซึ่งมิได้เป็นธุรกิจที่เข้าข่ายตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ และข้อเท็จจริงมีการรับจ้างผลิตซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจตามบัญชีสาม (21) การทำธุรกิจบริการ ซึ่งต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจ คนต่างด้าวนั้นสามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามมาตรา 12 นี้ได้เช่นกัน (ธุรกิจตามบัญชีสองหรือบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ตามเอกสารแนบ) เงื่อนไขการยื่นเอกสาร
1. ผู้แจ้งเพื่อขอหนังสือรับรองต้องกรอกข้อความในคำขอโดยการพิมพ์ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้แจ้งขอหนังสือรับรอง หรือลงลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
2. การยื่นสำเนาหรือภาพถ่ายหลักฐานหรือเอกสารประกอบการแจ้ง ผู้แจ้งเพื่อขอหนังสือรับรองต้องรับรองความถูกต้องของสำเนาหรือภาพถ่ายนั้น
3. หนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับ ชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสํานักงาน รายชื่อกรรมการและผู้อํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล โดยเอกสารรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่รับรองโดยนายทะเบียน
4. หนังสือแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว จำนวนหุ้น ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างด้าวถือเอกสารรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่รับรองโดยนายทะเบียน
5. หลักฐานแสดงว่าผู้แจ้งเพื่อขอหนังสือรับรองได้รับการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมหรือประกอบการค้าเพื่อการส่งออก เงื่อนไขการยื่นคำขอ ผู้ยื่นคำขอต้องมาชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรอง ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลางชั้น4กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หลังจากได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ
หมายเหตุ : ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือบริการประชาชนเรียบร้อยแล้วทั้งนี้ในกรณีที่คำขอหรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนและ/หรือมีความบกพร่องไม่สมบูรณ์เป็นเหตุให้ไม่สามารถพิจารณาได้เจ้าหน้าที่จะจัดทำบันทึกความบกพร่องของรายการเอกสารหรือเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นเพิ่มเติมโดยผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขและ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดในบันทึกดังกล่าวมิเช่นนั้นจะถือว่าผู้ยื่นคำขอละทิ้งคำขอโดยเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจะลงนามบันทึกดังกล่าวและจะมอบสำเนาบันทึกความบกพร่องดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอหรือผู้ได้รับมอบอำนาจไว้เป็นหลักฐาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
      1.ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 พ.ศ. 2546
      2.ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง ระยะเวลาในการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 และการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว        ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 สำหรับธุรกิจบริการที่เป็นสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศและบริษัทการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2558
      3.ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 พ.ศ. 2563
      4.พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

44/14 ซอยนิมิตใหม่ 12 แขวงทรายกองดิน
เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510

Subscribe Now

Don’t miss our future updates! Get Subscribed Today!